ประวัติศาสตร์ไทย บทที่2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เบ้าหลอมวัฒนธรรม
วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน  วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย  โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิม ของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง
1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคน ไทย  เช่น  สุโขทัย  ล้านนา  ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย  จีน  เปอร์เซีย  เพื่อนบ้าน  เช่น  เขมร  มอญ  พม่า  โดยผ่านการติดต่อค้าขาย  การรับราชการของชาวต่างชาติ  การทูต   และการทำสงครามสำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
                      1.  ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
                     2.  ด้านกฎหมาย  มี การรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                    3.  ด้านศาสนา  พระ พุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัย อยุธยาเป็นต้นมา
                    4.  ด้านวรรณกรรม  ใน สมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น
                    5.  ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น    เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน  รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา
                    6.  ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต  เช่น   คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู  รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง  เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด  การใช้กะทะ  การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย  คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น
          2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร  สถาปัตยกรรม  ศิลปวิทยาการ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา  คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบันดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
                    1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำ ปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
                    2.  ด้ารการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ 4  ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
                    ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                    3.  ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถ คำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย ในปัจจุบัน
                    ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  "บางกอกรีคอร์เดอร์"  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์  โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
                    4.  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การ ศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์ จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา
                    5.  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การ รับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่สำคัญมีดังนี้

                    
1)  ปัจจัยทางภูมิศาสตร์  ประเทศไทยมีสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและคนในแต่ละ พื้นที่ก็ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาให้สอดคล้องกับท้องถิ่นที่ตน อยู่                    2)  ปัจจัยทางสังคม  สามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้าน  ดังนี้                              
                              2.1)  ลักษณะร่วมทางสังคมและวัฒนธรรม  ได้แก่  การที่สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม  ทำให้คนในสังคมมีวิถีชีวิตความเชื่อบางอย่างเหมือนกัน  เช่น  ความเชื่อเรื่องการนับถือผู้อาวุโส  จึงทำให้เกิดพิธีการรดน้ำขอพร  ความเชื่อเรื่องเทวดาอารักษ์  เช่น  แม่พระคงคา  แม่พระธรณี  แม่โพสพ  รุกขเทวดา  ความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้  ผีบ้านผีเรือน  ทำให้มีประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับอาชีพและความเชื่อ  เช่น  การทำขวัญข้าว  การเล่นเพลงเรือ  ประเพณีลอยกระทง
นอกจาก นี้  คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาทำให้มีประมีประเพณีทางศาสนาเหมือนกัน  แต่อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น  เช่น  ประเพณีทำบุญในหลายพื้นที่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตน  เช่น  ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและประเพณีไหลเรือไฟของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ประเพณีชักพระของภาคใต้  เป็นต้น
                              2.2)  ลักษณะแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม 
สภาพภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติที่ต่างกัน  รวมถึงความเคยชินและการปฏิบัติที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา  มีผลต่อความแตกต่างในด้านการดำรงชีวิต  การสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญา  เช่น  ภาคกลางและภาคใต้ปลูกข้าวเจ้ามาก  ทำให้คนทั้งสองภาคนิยมรับประทานข้าวเจ้า  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือปลูกข้าวเหนียวมาก  คนทั้งสองภาคนี้จึงนิยมรับประทานข้าวเหนียว  และคิดสร้างสรรค์ภาชนะใส่ข้าวเหนียวจากวัสดุธรรมชาติ  เรียกว่า  "กระติบ"  ซึ่งช่วยเก็บกักความร้อนและทำให้ข้าวเหนียวนุ่มอยู่ได้นาน  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหนองบึงมาก  แต่แหล่งน้ำมักแห้งขอดในฤดูแล้ง  ชาวบ้านจึงเรียนรู้ที่จะเก็บสะสมอาหารไว้กินตลอดทั้งปี  โดยนำปลานานาชนิดมาทำเป็นปลาร้า  ส่วนภาคใต้มีอาหารทะเลมากจึงถนอมอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น  ตากแห้ง  ปลาแดดเดียว  ปลาเค็ม  หรือนำเคยซึ่งเป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งมาทำกะปิ
                              นอกจากนี้  การปลูกบ้านเรือนของผู้คนในแต่ละภาคก็มีความแตกต่างกันตามทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  ภาคเหนือมีไม้มาก  บ้านเรือนจึงปลูกสร้างด้วยไม้  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ไม้ไผ่เป็นส่วนสำคัญในการปลูกบ้าน  ดังนั้น  จะเห็นได้ว่าความแตกต่างกันทางภูมิศาสตร์และ
ทรัพยากรธรรมชาติ  ทำให้แต่ละพื้นที่มีการดำรงชีวิตต่างกัน